ในชีวิตประจำวันการขับขี่รถจักรยานยนต์อาจมีหลายปัจจัยที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ บางเหตุการณ์นั้น แก้ไขปัญหาได้อย่างไร
การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เมื่อเกิดอุบัติเหตุขณะขับขี่รถจักรยานยนต์
ถนนที่มีน้ำมัน – ใช้เกียร์ต่ำเร่งเครื่องให้อยู่ในระดับหนึ่งตลอดเวลา เมื่อพ้นถนนที่มีน้ำขังแล้ว ให้ใช้เบรกเป็นระยะๆ เพื่อไล่น้ำออกจากระบบเบรกจนเบรกอยู่ในสภาพปกติ ในกรณีที่เครื่องยนต์ดับ ต้องจูงรถไปให้พ้นน้ำ ถอดหัวเทียนออกมา เช็ดทําความสะอาดให้แห้ง รวมทั้งตรวจสอบและทําให้ระบบไฟจุดระเบิดปราศจากความชื้น และนําอุปกรณ์ต่าง ๆ ประกอบเข้าที่อย่างถูกต้องแล้ว จึงติดเครื่องยนต์ใช้งานต่อไป
ถ้าขับขี่บนถนนมีน้ำขัง – ควรขับด้วยเกียร์ต่ำ เร่งเครื่องให้อยู่ในระดับใดระดับหนึ่งตลอดเวลา และใช้เบรกเป็นระยะ ถ้าเครื่องดับต้องจูงรถให้พ้นน้ำและถอดหัวเทียนออกมาเช็ดทําความสะอาดให้แห้ง รวมทั้งตรวจสอบระบบไฟจุดระเบิดให้ปราศจากความชื้นด้วย หลังจากนั้นประกอบเข้าที่แล้วสตาร์ตเครื่องใช้งานต่อไป
ถ้าเบรกไม่ทํางาน – ขั้นแรก ควรตั้งสติ ให้ดีเสียก่อน แล้วค่อยๆ ลดเกียร์ต่ำสุดเพื่อให้เครื่องยนต์ช่วยเบรก เมื่อสามารถหยุดได้แล้ว ควรเร่งแก้ไขข้อผิดพลาด และขณะที่เกิดเหตุควรบีบแตรไว้ตลอดเวลา เพื่อเตือนให้รถคันอื่นทราบว่าท่านกําลังประสบปัญหา
ถ้าคันเร่งค้าง – ปิดกุญแจสวิตซ์หรือดึงสายไฟ เพื่อตัดระบบจุดระเบิดเครื่องยนต์
ถ้าเครื่องร้อนเกินไป – เมื่อเครื่องยนต์เกิดความร้อนสูง ลูกสูบอาจเกิดอาการฝืด และเกิดเสียงเหมือนใช้เครื่องยนต์ช่วยเบรก (ขณะแล่นอยู่โดยไม่เร่งเครื่อง) เมื่อเกิดอาการเช่นนี้ควรเข้าเกียร์ว่างทันที เพื่อป้องกันปัญหาเครื่องหยุดทํางาน และแตะเบรกเบาๆ ถ้ารถของท่านระบายความร้อนด้วยน้ำ อย่ารีบร้อนเปิดฝาหม้อน้ำเพราะอาจถูกน้ำร้อนลวกได้ ควรรอให้เครื่องยนต์เย็นพอสมควรจึงค่อยตรวจดูน้ำมันเครื่อง และน้ำหล่อเย็น
ถ้าเกิดยางระเบิด – ควรตั้งสติควบคุมรถให้ดี ใช้เข่าทั้งสองข้างบีบถังน้ำมัน ปล่อยให้รถช้าลงด้วยตัวของมันเองแล้วจึงใช้ห้ามล้อ และนํารถเข้าจอดในที่ปลอดภัย
ถนนมีหลุมลึก – หากกจำเป็นต้องขับขี่ผ่านหลุมลึกหรือผิวถนนที่ขรุขระมากๆ ควรยืมขึ้นในลักษณะย่อเข่าเล็กน้อย พร้อมทั้งโยกตัวไปในทิศทางตรงกันข้ามกับระดับตัวรถที่เอียงเมื่อขับผ่านหลุมหรือเนินต่างๆ จะช่วยให้ควบคุมรถได้ดีกว่าการนั่ง
เบรกแล้วล้อล็อก – ในกรณีเบรกแล้วล้อล็อก สำหรับรถที่ไม่มีระบบ ABS ส่วนมากมักเกิดที่ล้อหลัง ดังนั้น เมื่อเกิดการล็อกและลื่นไถลของล้อควรใช้น้ำหนักของเบรกหน้าเพิ่มขึ้นหรือควรผ่อนเบรกหลังและเพิ่มแรงสลับกันถี่ๆ เพื่อให้ล้อหมุนกลิ้งกับพื้นถนนให้มากที่สุด และหากเกิดกับล้อหน้าให้ใช้วิธีเดียวกัน เพื่อให้สามารถควบคุมทิศทางของรถและลดความเร็วลงได้อย่างปลอดภัย
รู้วิธีการขับขี่อย่างปลอดภัยควบคู่กันไป จะช่วยลดอุบัติเหตุ พร้อมทั้งเพิ่มวินัยจราจร และที่สำคัญอาจทำให้ปัญหารถติดลดน้อยลงอีกด้วยนะคับ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก checkraka