เรียนรู้การใช้เบรกอย่างปลอดภัย
การใช้เบรกหน้า เราควรระวังให้มากเป็นพิเศษ เพราะหากกำเบรกอย่างรุนแรง ก็มีโอกาสล้อล็อค ลื่นไถลและควบคุมทิศทางรถได้ยาก ยิ่งถ้าผิวถนนลื่นๆ ยิ่งมีความเสี่ยงในการลื่นไถลและทำให้รถล้มได้มากขึ้นไปอีก ดังนั้นการใช้เบรกหน้าควรค่อยๆ กำคันเบรกอย่างเบาๆ และค่อยเพิ่มแรงทีละน้อยๆ จนกว่ารถจะหยุด ซึ่งการเบรกเบาๆ นี่จะช่วยให้ควบคุมทิศทางของรถได้ดีกว่าเบรกอย่างรุนแรง
ในกรณีเบรกแล้วล้อลื่นไถล ให้รีบปล่อยเบรกทันทีและใช้เบรกหลังควบคู่กันไปด้วยเพื่อช่วยให้ทั้งล้อหน้าและล้อหลังสามารถประคองรถได้อย่างปลอดภัย
ข้อควรระวัง! ไม่ควรเบรกด้วยล้อหน้าอย่างแรงในขณะที่รถกำลังเลี้ยวโค้งอยู่ ถ้าจำเป็นต้องแน่ใจว่าความเร็วลดต่ำลงมาในระดับที่สามารถควบคุมรถได้แล้ว
เบรกหลังมีส่วนช่วยในการประคอง การทรงตัวของรถมอเตอร์ไซค์ได้ดี แต่อาจจะไม่ช่วยในเรื่องการหยุดรถได้อย่างสนิทนัก เพราะเมื่อเราเบรกแรงเกินไปล้อจะล็อคและถูกลากไปตามแรงเฉื่อย ซึ่งถ้าเบรกในจังหวะเข้าทางโค้งก็ยิ่งทำให้รถลื่นไถลและพลิกคว่ำได้ง่ายทันที ดังนั้น การใช้เบรกหลังเพียงอย่างเดียว ควรค่อยๆ เพิ่มแรงทีละน้อยๆ จนกว่ารถจะจอดสนิท
ข้อควรระวัง! ไม่ควรเบรกอย่างแรงในขณะเลี้ยวหรือทางโค้ง เพราะอาจเกิดการลื่นไถลและรถล้มได้
การเบรกที่นับว่าปลอดภัยมากที่สุดนั่นคือ การใช้ทั้งเบรกหน้าและหลัง ในสัดส่วนที่พอเหมาะ เช่น “หน้า 40% หลัง 60%” หรืออย่างละ 50% (โดยประมาณ) หรืออาจจะแปรผันตามสถาณการณ์ต่างๆ ได้ เช่น วิ่งในทางตรงและผิวถนนที่ปลอดภัยอาจใช้เพียงเบรกหลังเพื่อช่วยชะลอความเร็วลงได้ และค่อยใช้เบรกหน้าช่วยทำให้รถหยุดสนิท เป็นต้น การเบรกควรไล่น้ำหนักจากน้อยไปมาก ไม่ควรเบรกแรงในครั้งเดียวเพราะอาจทำให้ล้อใดล้อหนึ่งล็อคและเสียหลักได้
ข้อควรระวัง! การเบรกในทางโค้งควรใช้ความระมัดระวังสูงขึ้นและคอยสังเกตอาการของแต่ละล้อว่าเกิดการล็อคหรือไม่ เพราะบางครั้งพื้นผิวถนนอาจไม่เท่ากัน
นอกจากการใช้เบรกให้เป็นแล้วผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์ควรปฏิบัติให้ชินเป็นนิสัยคือ การมองไปด้านหน้าไกลๆ เผื่อระยะห่างมากๆ และสายตาต้องฉับไวคอยมองผิวถนนที่กำลังจะขับขี่ผ่านว่ามีสิ่งใดผิดปกติหรือไม่ เพื่อป้องกันและชะลอความเร็วล่วงหน้าก่อนจะถึงบริเวณที่มีอันตราย หรือรถหยุดอย่างกะทันหัน เท่านี้ยังไม่พอครับ ควรขับขี่ด้วยความเร็วที่เหมาะสมไม่เร็วเกินไป และขับช้าเกินไปในช่องทางขวาสุด เพราะอาจเกิดอันตรายได้
การขับขี่มอเตอร์ไซค์นั้นสิ่งที่สำคัญมากที่สุดก็คือ “การควบคุมรถ” “การหยุดรถอย่างปลอดภัย” ทั้งในสถานการณ์ปกติและฉุกเฉิน นักบิดจึงควรฝึกฝนทักษะนี้เป็นประจำให้เกิดความเคยชิน เพื่อให้ขับขี่บนท้องถนนได้อย่างปลอดภัยครับ
หากมีระบบ ABS จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยได้มากขึ้น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก checkraka
มุมอับหรือจุดบอดที่ผู้ขับรถยนต์ไม่อาจเห็นได้ชัดเจนนั่นคือ ช่วงด้านข้างรถค่อนไปทางด้านหลัง (บริเวณประตูหรือซุ้มล้อหลัง) ซึ่งจุดนี้ผู้ขับรถไม่สามารถเห็นได้จากกระจกมองข้างหรือกระจกมองหลังได้ จึงเป็นจุดอับสายตา ดังนั้นการขับขี่จักรยานยนต์ควรระวังจุดอับสายตาตรงนี้เป็นสำคัญ เพราะเมื่อรถเลี้ยวหรือเปลี่ยนเลนอาจชนกันได้
การขับจี้ท้ายรถยนต์ทั่วไปนับว่าอันตรายอยู่แล้ว ยิ่งกับรถบรรทุกหรือรถที่ติดตั้งตู้ทึบเก็บของส่วนท้ายยิ่งควรหลีกเลี่ยง เพราะผู้ขับขี่จักรยานยนต์ไม่สามารถมองเห็นรถหรือเหตุการณ์ข้างหน้าในระยะไกลๆ ได้ ดังนั้นเมื่อจำเป็นต้องขับตามรถเหล่านี้ขอให้เว้นระยะห่างให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้และพยายามชิดซ้ายของช่องทางเพื่อให้มองผ่านรถคันถัดไปได้
การเลี้ยวโค้งทุกครั้งควรให้ตัวรถอยู่ชิดขอบซ้ายของช่องทางมากที่สุด เพื่อป้องกันรถยนต์ที่ขับตามมาหรือขับสวนทางที่อาจจะกินเลนเข้ามาหาได้ และเผื่อช่องว่างระหว่างรถที่ขับตีคู่กันมาในขณะเข้าทางโค้งเอาไว้มากๆ นอกจากนี้ต้องพยายามมองเหตุการณ์ข้างหน้าระยะไกลๆ ประกอบกันไปด้วย
ในกรณีที่รถจักรยานยนต์ต้องการแซงรถคันหน้าไม่ว่าจะแซงทางซ้ายหรือขวา เมื่อแซงพ้นแล้วควรเว้นหรือเผื่อระยะห่างระหว่างหน้ารถที่เราแซงออกไปซักเล็กน้อย เพราะถ้ารถคันที่เราแซงกำลังเร่งเครื่องพอดีอาจเกิดการชนท้ายได้
การเลี้ยวออกจากตรอกซอกซอยเป็นจุดที่ควรระวังมากที่สุด เพราะผู้ขับขี่จักรยานยนต์มักคิดว่ารถคันเล็กเร่งได้รวดเร็วกว่าและสามารถออกรถตัดหน้าอย่างกระชั้นชิดได้ทัน ซึ่งบางครั้งก็ไม่ได้ดูให้แน่ใจก่อนว่ารถคันที่ขับผ่านนั้นใช้ความเร็วมากน้อยเพียงใด รวมถึงการเบี่ยงตัวรถจักรยานยนต์เพื่อหลบสิ่งกีดขวางโดยไม่มองรถที่ขับตามหลังมาด้วย นับว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่งครับ
ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ควรระลึกไว้ว่า การขับขี่รถมอเตอร์ไซค์นั้น ไม่ต่างอะไรกับ “เนื้อหุ้มเหล็ก” และไม่ว่าเราจะขับดีมีความรอบคอบเพียงใด แต่ปัจจัยอื่นๆ ที่เราไม่สามารถควบคุมได้ก็อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุกับเราได้ ดังนั้น การขับขี่รถจักรยานยนต์ต้องเพิ่มความระมัดระวัง อย่าขับเร็วเกินกำหนด เพิ่มความรอบคอบ คอยสังเกต และใจเย็นๆ อย่ารีบร้อนครับ เพราะนั่นคือ ความประมาทล้วนๆ เลย
นอกจาก 5 จุดที่ควรระวังแล้ว นักบิดทั้งบิ๊กไบค์ แนวครอบครัวหรือสปอร์ตต่างๆ ก็ควรศึกษาความรู้และทักษะการขับขี่รถจักรยานยนต์ให้พัฒนาขึ้นควบคู่กันไปด้วยนะครับ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก checkraka
แต่เคยสงสัยไหมว่าระบบนี้ทำงานอย่างไร?
มอเตอร์สตาร์ทอยู่แกนเดียวกับเพลาข้อเหวี่ยง
เจ้าระบบ SSS นั้น ทำงานได้อย่างราบรื่นและรวดเร็วมาก เพราะว่า เดิมทีการสตาร์ทเครื่องยนต์จะใช้มอเตอร์สตาร์ท 1 ชุด และมีระบบฟันเฟืองในการขยับตัวเพื่อเข้าไป “ขบ” กับเฟืองที่ฟลายวิลของเครื่องยนต์เพื่อหมุนให้สตาร์ทติด จึงมีชิ้นส่วนและระบบการ “ขบ” อีก 1 ชุด และในการ “ขบ” แต่ละครั้งก็เกิดเสียงในการเสียดสีระหว่างฟันเฟืองขึ้น จึงเกิดเสียงดังและในการสตาร์ทจะใช้เวลานานกว่าเครื่องยนต์จะติดได้
ระบบ SSS นั้น ถูกคิดค้นและออกแบบใหม่ให่ตัวเครื่องเกิดเนิดไฟฟ้าหรือไดชาร์จหรือจะเรียกว่าเจเนอเรเตอร์ก็ได้ ทำหน้าที่ 2 อย่างสลับกันนั่นคือ เป็นทั้งการชาร์จไฟเข้าไปเก็บไว้ในแบตเตอรี่และยังทำหน้าที่เป็นมอเตอร์เพื่อหมุนให้เครื่องยนต์สตาร์ทติดอีกด้วย ในบางค่ายรถจะเรียกว่า “Smart Motor” นั่นเอง
เจ้าตัวสมาร์ทมอเตอร์นี้จะติดตั้งอยู่กับแกนเพลาข้อเหวี่ยงเครื่องยนต์ซึ่งเป็นตำแหน่งเดิมของชุดเจเนอเรเตอร์ โดยจะทำหน้าที่ทั้งเก็บไฟจากการหมุนของเครื่องยนต์และการจ่ายพลังงานเพื่อหมุนตัวเองให้เครื่องยนต์ติด โดยที่ไม่ต้องผ่านชุดขับเคลื่อนเหมือนระบบสตาร์ทแบบเดิมๆ การทำงานจึงเงียบมากๆ และติดเครื่องยนต์ได้อย่างรวดเร็วทันใจ กินไฟน้อย และการสึกหรอก็น้อยตามไปด้วย
ดังนั้นใครขับขี่รถมอเตอร์ไซค์รุ่นที่มีระบบนี้ถือว่าล้ำสมัยอินเทรนด์สุดๆ และช่วยประหยัดน้ำมันในขณะจอดอยู่กับที่ลดการใช้น้ำมันโดยเปล่าประโยชน์และลดมลพิษได้อีกด้วย
ไฟสีเขียว “A” สถานะการพร้อมทำงานระบบ “SSS”
นอกจากนี้ยังไม่ต้องกลัวว่าระบบมอเตอร์สตาร์ทจะพังเร็วก่อนกำหนด เพราะระบบนี้ใช้งานอยู่รถยนต์รุ่นใหม่ที่มีระบบ Stop & Start เช่นกัน เว้นแต่ว่าหากรำคาญที่ขยันดับๆ ติดๆ บ่อย เวลาขับขี่ในช่วงรถติดสลับหยุดนิ่ง ก็สามารถปิดระบบนี้ได้อีกด้วย
สวิตช์ปิด-เปิดระบบ IDLING หรือระบบ Stop & Start System
ค่ายนี้เป็นรูปตัว “A” และมีคำว่า “Off”
ระบบ Stop & Start System มีในรุ่นมอเตอร์ไซค์บางรุ่นในประเทศไทย เช่น Honda PCX, Yamaha Q-BIX เป็นต้น “ชอบก็ใช้ ไม่ชอบก็ปิด” แค่นั้นเองครับ สะดวกสบาย ประหยัดและทนทานแน่นอน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก checkraka
ระบบไฟในมอเตอร์ไซค์มีส่วนสำคัญอยู่ 3 ส่วน ดังนี้
หลังจากที่เราได้ตรวจเช็คแล้ว หากเราตรวจเช็คที่หัวเทียนแล้วพบว่าเขี้ยวไฟละลาย หรือมีกระเบื้องละลายไปด้วย ถือได้ว่าอาการค่อนข้างร้ายแรง เนื่องจากเป็นอาการที่อุณหภูมิในห้องเผาไหม้สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้หัวเทียนชำรุด และยังเป็นอันตรายต่อลูกสูบ โดยเฉพาะเครื่องยนต์แบบ 2 จังหวะ โอกาสที่ลูกสูบติดมีค่อนข้างสูง สำหรับสาเหตุนั้นอาจเกิดจากการใช้หัวเทียนชนิดร้อนไป หรือใช้น้ำมันอ๊อกเทนต่ำไป รวมถึงการตั้งไฟแก่ไป หรือส่วนผสมบางไป มีวิธีแก้ไขคือ ให้ใช้หัวเทียนชนิดเย็นขึ้น ใช้น้ำมันอ๊อกเทนสูงขึ้น หรือตั้งไฟจุดระเบิดให้ถูกต้องรวมทั้งต้องตรวจเช็คการระบายความร้อน และปรับตั้งคาร์บูเรเตอร์ใหม่อีกด้วย
การตรวจสอบระบบการชาร์จไฟทำได้โดยการใช้โวลต์มิเตอร์ต่อคร่อมเข้ากับขั้วของแบตเตอรี่ แต่สำหรับการวัดค่าการชาร์จโดยการวัดความถ่วงจำเพาะของกรดด้วยไฮโดรมิเตอร์นั้นไม่ควรทำ ทั้งนี้เนื่องจากไม่มีกรดพอที่จะดูดขึ้นมาใส่ภาชนะเพื่อทำการวัดค่าได้ ในการวัดค่าไฟชาร์จของแบตเตอรี่นั้น ให้ปลดขั้วแบตเตอรี่ออกก่อน ค่าไฟชาร์จถ้าเป็นแบตเตอรี่ขนาด 6 โวลต์ เมื่อทำการวัดด้วยโวลต์มิเตอร์แล้วควรจะมีค่ามากกว่า 6 โวลต์เล็กน้อยถ้าหากวัดได้ 5.6 โวลต์ หรือต่ำกว่า ควรจัดการชาร์จไฟใหม่ และเมื่อชาร์จไฟแล้วค่าที่วัดได้ควรจะอยู่ประมาณ 7.6 โวลต์ แต่ถ้ามากกว่านี้ก็แสดงว่าเซลล์ใดเซลล์หนึ่งเกิดการชำรุดขึ้นมา ส่วนแบตเตอรี่ 12 โวลต์ ที่ใช้กันทั่วไปนั้น เมื่อวัดแล้วควรจะได้ค่าประมาณ 12.5 โวลต์ ถ้าวัดได้ 11 โวลต์ หรือต่ำกว่านี้ก็ควรทำการชาร์จใหม่ โดยที่ขณะชาร์จไฟ โวลต์เตจที่ขั้วควรจะได้ประมาณ 15 โวลต์ และในรถที่ใช้ระบบสตาร์ตไฟฟ้า โวลต์ของแบตเตอรี่ 12 โวลต์ ที่ชาร์จไฟเต็มแล้วควรจะอยู่ระหว่าง 8-10 โวลต์เมื่อสตาร์ทเครื่องแล้ว
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ การดูแลรักษาระบบไฟของมอเตอร์ไซค์นั้นไม่ยาก และไม่ซับซ้อนเลยใช่ไหมครับ หากเราดูแลดีๆมอเตอร์ไซค์ของเราก็จะสามารถใช้งานไปได้อีกยาวนาน และไม่ต้องคอยกังวลว่ารถจะสตาร์ตติดหรือไม่ด้วยครับ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก checkraka
วันนี้ขอนำท่านมารู้จักกับระบบระบายความร้อนของมอเตอร์ไซค์กันบ้างว่ามีการทำงาน และวิธีบำรุงรักษาอย่างไร ซึ่งเรื่องปัญหาของความร้อนเครื่องยนต์นั้นถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่เราต้องระวัง และต้องดูแลให้ดี เนื่องจากหากปล่อยละเลยไม่ดูแลรักษา อาจทำให้ความร้อนในเครื่องยนต์เพิ่มมากขึ้นเกินกว่าที่เครื่องยนต์จะรับได้ อาจทำให้รถเสียกลางทาง นอกจากนี้ยังทำให้อายุการใช้งาน และประสิทธิภาพของรถโดยรวมลดลงอีกด้วย
น้ำมันเครื่องถือได้ว่าเป็นตัวการสำคัญในการถ่ายเทความร้อนอย่างหนึ่งที่ผู้ใช้รถส่วนมากมักจะมองข้าม และมักละเลยในส่วนนี้ไปโดยคิดว่าสามารถใช้น้ำมันเครื่องแบบไหนก็ได้ ซึ่งจริงๆ แล้วน้ำมันเครื่องมีส่วนสำคัญอย่างมากในการลดการเสียดสีของผิวโลหะภายในเครื่องยนต์ ซึ่งเป็นตัวการอย่างหนึ่งที่ทำให้เครื่องร้อน ส่วนอาการที่แสดงออกมาโดยเจ้าของไม่รู้คือ วิ่งไม่ค่อยออก, ความร้อนขึ้นมากกว่าปกติ, ชิ้นส่วนต่างๆ มีอายุการใช้งานสั้นลง ดังนั้นเราควรเลือกใช้น้ำมันเครื่องสำหรับจักรยานยนต์ที่ได้มาตรฐาน รวมไปถึงเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตามระยะเวลาที่กำหนด
สำหรับรถจักรยานยนต์ที่ใช้ระบบระบายความร้อนด้วยอากาศ อากาศจะพัดพาเอาความร้อนออกจากเสื้อสูบ และฝาสูบซึ่งจะมีครีบระบายความร้อนอยู่ แต่ถ้ามีสิ่งกีดขวางทิศทางการไหลของอากาศ จะทำให้การระบายความร้อนออกจากตัวเครื่องยนต์ทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร ฉะนั้นควรทำความสะอาดรถโดยเฉพาะบริเวณครีบระบายความร้อนของเสื้อสูบ และทำความสะอาดรังผึ้งเป็นประจำโดยเฉพาะเมื่อเดินทางไกล อย่าให้เศษดินทรายเข้าไปอุดตัน จะช่วยให้การระบายความร้อนดีขึ้น
ระบบหล่อเย็นเป็นระบบระบายความร้อนของเครื่องยนต์ด้วยน้ำ โดยชิ้นส่วน และอุปกรณ์ในระบบหล่อเย็นส่วนใหญ่จะเป็นโลหะที่ต้องสัมผัสกับน้ำ ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการถ่ายเทความร้อนจากเครื่องยนต์มาระบายที่หม้อน้ำ ฉะนั้นน้ำยาหล่อเย็นที่จะนำมาผสมกับน้ำต้องมีคุณสมบัติที่ไม่เป็นอันตรายต่อชิ้นส่วนต่างๆ และไม่เสื่อมสภาพได้ง่าย ซึ่งควรเป็นน้ำกลั่น หรือน้ำบริสุทธิ์เท่านั้น เพราะจะช่วยยืดอายุการใช้งานของระบบหล่อเย็นได้ยาวนานขึ้น นอกจากนี้ควรตรวจสอบระดับน้ำในหม้อน้ำให้อยู่ในระดับที่พร้อมใช้งานอยู่เสมอ โดยควรเปลี่ยนถ่ายน้ำตามระยะที่คู่มือระบุ เพราะการใช้งานที่ยาวนานอาจจะทำให้มีตะกรัน หรือสนิมในหม้อน้ำได้
อุปกรณ์อีกอย่างที่สำคัญ ก็คือ พัดลมหม้อน้ำ มีหน้าที่ในการช่วยถ่ายเทความร้อนระหว่างรังผึ้งหม้อน้ำกับอากาศให้สมดุลกับปริมาณความร้อนที่เกิดขึ้น โดยปกติพัดลมหม้อน้ำจะไม่ต้องการการบำรุงรักษาใดๆ เพราะหากชำรุดขึ้นก็สามารถเปลี่ยนได้ใหม่ แต่อย่างไรก็ควรหมั่นตรวจดูสภาพ และการทำงานเป็นระยะๆ โดยการตรวจสภาพ และดูการทำงานของพัดลมหม้อน้ำ ควรทำทุกครั้งที่ตรวจระดับน้ำหล่อเย็น ต่อจากนั้นตรวจดูใบพัดของพัดลมว่าอยู่ในสภาพเรียบร้อยไม่แตกหักเสียหาย หรือเปลี่ยนรูปไป ตรวจดูโครงยึด และกรอบบังลมว่าตรึงแน่นอยู่ในตำแหน่งอย่างถูกต้อง ไม่มีร่องรอยของการเสียดสี สายไฟ และปลั๊กต่อต้องอยู่ในสภาพเรียบร้อยไม่ขาด แตกหัก หรือหลุดลุ่ย หากสตาร์ตเครื่องยนต์แล้วให้สังเกตการทำงานของพัดลมหม้อน้ำในสภาวะปกติ ระหว่างที่ติดเครื่องยนต์ใหม่ๆ พัดลมหม้อน้ำจะยังไม่ทำงาน พัดลมจะเริ่มหมุนเมื่ออุณหภูมิของเครื่องยนต์เริ่มสูงกว่าอุณหภูมิทำงานปกติ (ประมาณ 85 – 90 องศาเซลเซียส) และจะหยุดหมุนเมื่ออุณหภูมิของเครื่องยนต์ลดต่ำลงกว่าระดับดังกล่าว สลับไปมาอย่างนี้อยู่เสมอ
การดูแลรักษาระบบระบายความร้อนของมอเตอร์ไซค์นั้นไม่ยากเลยใช่ไหมครับ หากดูแลเป็นประจำก็จะทำให้ยืดอายุการใช้งานของมอเตอร์ไซค์ของคุณไปได้อีกเยอะเลยครับ อุณหภูมิทำงานปกติ (ประมาณ 85 – 90 องศาเซลเซียส) และจะหยุดหมุนเมื่ออุณหภูมิของเครื่องยนต์ลดต่ำลงกว่าระดับดังกล่าว สลับไปมาอย่างนี้อยู่เสมอ
ขอขอบคณข้อมูลจาก checkraka
——————————————————–
Showroom : 055-253900
คุณอ้อ : 084-8187837
คุณโอ๊ต : 086-9316988
คุณปุย : 061-8010254
Line : http://line.me/ti/p/@bigwingchokchai
ประเภทของเกียร์มอเตอร์ไซค์ในปัจจุบันมีด้วยกันอยู่หลายแบบ แต่มอเตอร์ไซค์ขนาดกลางถึงขนาดเล็กรุ่นใหม่ๆ ส่วนใหญ่จะใช้ระบบเปลี่ยนเกียร์อัตโนมัติแบบ CVT (Continuously Variable Transmission) กันเกือบหมดแล้ว ด้วยความประหยัด ขับง่าย คล่องตัว อีกทั้งยังไม่ต้องกังวลกับการเปลี่ยนจังหวะเกียร์ให้ปวดหัวจึงทำให้ระบบ CVT ได้รับความนิยมมากกว่าเกียร์ประเภทอื่นๆ
แต่นอกจากระบบ CVT ที่หลายๆ คนคุ้นหูกันดีแล้วนั้น ก็ยังมีเกียร์แบบอื่นๆ อีก เราไปดูกันครับว่า ประเภทของเกียร์มอเตอร์ไซค์นั้นมีอะไรกันบ้าง
ระบบเกียร์ที่นิยมใช้กับรถมอเตอร์ไซค์ในปัจจุบันมีอยู่ 2 แบบหลักๆ คือ
1. แบบใช้คลัตช์ แบบนี้จะต้องกำคลัตช์มือที่แฮนด์ด้านซ้ายทุกครั้งที่เข้าเกียร์ เริ่มตั้งแต่ออกตัวก็ต้องเลี้ยงคลัตช์เพื่อไม่ให้เครื่องยนต์ดับ แบบนี้คล้ายกับในรถยนต์เกียร์ธรรมดา และวิธีการเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์อาจดูสับสนสำหรับผู้เริ่มขับใหม่ เพราะการตบคันเกียร์ที่เท้าซ้ายจะเป็นลักษณะเกียร์ที่ 1 จะตบลงก่อน ในเกียร์ที่ 2 จะงัดขึ้นบนโดยจะรู้สึกว่าจังหวะคันเกียร์จะผ่านช่วงเกียร์ว่างแล้วค่อยขึ้นมาตำแหน่งเกียร์ 2 และใช้วิธีการงัดขึ้นเรื่อยๆ จนถึงเกียร์สุดท้าย
สำหรับมอเตอร์ไซค์ที่ใช้ระบบเกียร์มีคลัตช์มือ เช่น BMW HP4, Honda CBR 150R, Kawasaki Z250, Duciti, triumph เป็นต้น
และเมื่อต้องการลดเกียร์ลงตามความเร็วก็จะต้องตบคันเกียร์ลงตามลำดับไล่จากเกียร์สูงสุดลงมาเรื่อยๆ จนถึงเกียร์ว่าง หรือส่วนมากจะตบลงมาที่เกียร์ 1 ก่อน แล้วงัดขึ้นเบาๆ ให้อยู่ระหว่างเกียร์ 1 กับเกียร์ 2 นั่นคือตำแหน่งเกียร์ว่างพอดี
สำหรับมอเตอร์ไซค์ในปัจจุบันที่เป็นคลัตช์เปียกหรือระบบเกียร์วน ก็จะมี Honda Wave, Suzuki Smash, Yamaha Spark เป็นต้น ส่วนมอเตอร์ไซค์ที่ใช้ระบบเกียร์ CVT ตัวอย่างเช่น Honda Scoopy-i, Yamaha Fino, Suzuki Nex, Vespa เป็นต้น
จะเห็นได้ว่า มอเตอร์ไซค์รุ่นใหม่ๆ ในปัจจุบันนั้นมีความสะดวกต่อการใช้งาน มีความคล่องตัวมากขึ้น ขับขี่ง่าย และประหยัดน้ำมันมากขึ้นด้วย ใครสะดวก หรือถนัดกับเกียร์แบบไหนก็เลือกกันได้ตามใจชอบเลยนะครับ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก checkraka
โดยปรกติแล้วผู้ขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ส่วนใหญ่มักจะมีการระแวงระวังตัวเองอยู่ในระดับหนึ่ง แต่อุบัติเหตุก็ยังเกิดขึ้นได้ไม่ใช่ว่าจะเกิดที่ตัวของผู้ขับขี่เอง แต่อาจจะเกิดจากเพื่อนร่วมทาง ซึ่งวันนี้จะขอหยิบยกเอา 5 ปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนมาเล่าให้เพื่อนๆ ผ่านบทความนี้กันครับผม
1. การแซงใกล้ทางแยก
ปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะไม่ได้เกิดจากผู้ขับขี่ที่น่ากลัวเป็นอันดับต้นๆ โดยการแซงในบริเวณทางแยกนั้นเป็นอะไรที่อันตรายมากๆ เพราะ ทัศนะวิสัยในการมองเห็นรถที่มาจากทางแยกนั้นอาจจะไม่ชัดเจน และเราอาจจะเจอพวกร่วมทางที่ต้องการเลี้ยวตามทางแยกแต่ลืมเปิดไฟสัญญาณ ซึ่งเป็นอะไรที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุเป็นอย่างมาก
2. ขับขี่ใกล้กับรถที่จอดอยู่หรือทางเท้ามากเกินไป
การรักษาระยะห่างและรักษาความเร็วของตัวเองเป็นเรื่องสำคัญ มันเป็นอะไรที่เสี่ยงมากที่เราจะขับขี่ใกล้กับรถที่จอดอยู่ข้างทาง โดยไม่รู้เลยว่าอาจจะมีการเบียดเข้ากับประตูรถอย่างกะทันหัน หรือการออกรถอย่างกะทันหัน รวมไปถึงผู้คนที่เดินถนนทีเพลิดเพลิน กับอะไรบางอย่างอยู่แล้วออกมาโดยไม่ทันตั้งตัว แต่จะดีกว่าถ้าเราขยับออกมาจากขอบถนนนิดหน่อยเพื่อมุมมองที่กว้างขึ้นและช่วยให้มีเวลาในการตัดสินใจมากขึ้นอีกด้วย
3. จุดกลับรถหรือยูเทิร์น
ในประเทศไทยนั้นจุดยูเทิร์นนั้นส่วนมากจะเป็นทางตรงยาวและมีเกาะกลางถนนเป็นส่วนกั้น ซึ่งแน่นอนว่าในเส้นทางตรงคงไม่มีที่จะขับขี่ต่ำกว่า 90- 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมงอยู่แล้ว ซึ่งการกะระยะของรถที่รออยู่ในจุดกลับรถนั้น อาจจะมีการคลาดเคลื่อนได้ กังนั้นหากเราเจอจุดกลับรถอาจจะต้องชะลอเพื่อมองดูรถที่จุดรอนั้นก่อนถึงตัดสินใจจอดรอหรือเปิดคันเร่งเพื่อจะให้พ้นจุดกลับรถนั้นไปได้อย่างปลอดภัย ซึ่งก็เป็นลักษณะเดียวกันกับการที่เราต้องการกลับรถ การคาดเดาระยะห่างของตัวรถที่วิ่งมากับรถของเรานั้นก็ต้องสอดคล้องตามกันนั้นเอง
4. เว้นระยะห่างจากรถข้างหน้า
อีกหนึ่งปัจจัยทีเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ก็คือการชนท้าย โดนเราพบเห็นกันเป็นส่วนมาก ซึ่งแน่นอนว่าการชนท้ายนั้นก็เรารถที่วิ่งมาชนท้ายนั้นมีระยะการเบรกที่น้อยเกินกว่าตัวรถจะชะลอหรือหยุดได้ทัน แต่จะดีกว่าไหมหากเราเว้นระยะห่างกับรถคันที่อยู่ด้านหน้าเราให้พอจะมีระยะในการตัดสินใจในการใช่เบรกหรือหักหลบ
5. อยู่ที่ตัวเราเอง
ปฏิเสธไม่ได้หรอกครับเรื่องของการเกิดอุบัติเหตุนั้นมีแต่เรื่องที่ต้องสูญเสีย ซึ่งมันอาจจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับกรณีไป แต่ที่สำคัญที่สุด หากลองพิจารณาดีๆ แล้วมีตัวเราเองนี้แหละคือปัจจัยสำคัญที่จะพาตัวเราและรถมอเตอร์ไซค์คู่ใจไปเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุมากน้อยแค่ไหน รถมอเตอร์ไซค์สมัยใหม่มีระบบช่วยเหลือบรรดาผู้ขับขี่มากมายไม่ว่าจะเป็น ABS , Traction Control , Slipper Clutch แต่ระบบช่วยเหลือเหล่านี้จะไร้ประโยชน์ทันทีเมื่ออยู่ในมือของคนที่ใช้งานมันไม่เป็น
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก www.visordown.com
ระบบเบรก ABS นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ในวงการมอเตอร์ไซค์ โดยระบบ ABS นั้นย่อมาจาก Anti Lock Brake System หรือระบบป้องกันล้อล็อกตาย ซึ่งจะพบมากในมอเตอร์ไซค์รุ่นใหม่
Video แสดงนวัตกรรม Cornering ABS จาก KTM
โดยระบบเบรก ABS นั้นถูกดันให้เป็นระบบความปลอดภัยมาตรฐานสำคัญของมาตรฐาน EURO4 ซึ่งเราอาจจะเข้าใจว่ามันคือมาตรฐานเกี่ยวกับการปล่อยมลพิษเท่านั้น แต่ในทางกลับกันรถมอเตอร์ไซค์ทุกคันที่ต้องการผ่านมาตรฐานนี้จะต้องติดตั้งระบบเบรกนี้เข้ามาด้วย ถึงแม้ว่าเกณฑ์การปล่อยไอเสียนั้นจะผ่านมาตรฐานแต่หากไม่ติดตั้งระบบเบรก ABD มาด้วยรถคันนั้นก็จะไม่ได้ EURO4 ไปด้วยนั่นเอง
โดยระบบ ABS นั้นจะทำหน้าที่ในการป้องกันการจับตัวของปั้มเบรกและดิสก์เบรก โดยจะมีเซนเซอร์วัดแรงบีบจากก้านเบรกหน้า หรือแป้นเบรกหลัง โดยจะทำการจับแรงบีบที่มีตามค่ากำหนดแล้วแต่รถแต่ล่ะคันจะเซ็ทค่ามาจากโรงงาน โดยหากตรวจพบแรงบีบจำนวนที่เกินกว่าค่าที่กำหนดไว้ตัวเซนเซอร์จะทำการคลายปั้มเบรก และกดปั้มเบรกใหม่ในอีกจังหวะต่อมา เพื่อป้องกันการล็อกของล้อและลดแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นกับหน้ายางและพื้นผิวของถนน ซึ่งจะทำให้ไม่เกิดอาการท้ายยกในเวลาที่เราทำการเบรกหน้าหนักๆ นั่นเอง
สำหรับระบบ Cornering ABS นั้นก็มีหลักการทำงานที่แตกต่างออกไป โดยจะสามารถอธิบายให้เข้าใจอย่างง่ายได้ว่า เจ้าระบบนี้ต้องอาศัยการตรวจจับค่าความเฉื่อยจากแกน IMU (Internal Measurement Unit ) จากการเอียงของตัวรถและคำนวณแรงบีบของตัวปั้มเบรกแบบอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยให้การเบรกในโค้งนั้นมีความปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งเราเห็นได้จากในวิดีโอแล้วว่าหากไม่มีระบบ ABS ติดตั้งมาให้นั้นจะเกิดอาการล็อกของรถ แต่ในทางกลับกันกี่ติดตั้งระบบ ABS จะช่วยป้องกันการล็อกตายของล้อได้เป็นอย่างดี ซึ่งเราจะเห็นได้ชัดอีกว่าเมื่อมีระบบ Cornering ABS เข้ามาช่วยนั้นการเอียงของตัวรถจะสามารถทำได้ดีกว่าและระยะในการเบรกในโค้งนั้นจะสามารถควบคุมระยะได้ดีกว่า
ค่ายแรกที่พัฒนาแบะติดตั้งระบบเบรก Cornering ABS นั้นก็คือ KTM โดยได้ร่วมกันพัฒนากับ Bosch บริษัทผู้พัฒนาระบบเบรก ABS เพื่อใช้ในรถมอเตอร์ไซค์โดยเฉพาะ ซึ่งระบบความปลอดภัยนี้เริ่มเป็นที่แพร่หลายในรถมอเตอร์ไซค์ในปัจจุบันแล้ว
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก www.asphaltandrubber.com
ไม่ว่าคุณจะล้างรถบิ๊กไบค์ของคุณบ่อยสักเท่าไหร่ โซ่บิ๊กไบค์ก็ไม่สะอาดขึ้นสักทีนี่อาจเป็นเพราะโซ่บิ๊กไบค์ได้ผ่านมรสุมความสกปรกและเศษฝุ่นจากการขับขี่มาอย่างโชกโชนแถมบริเวณโซ่นั้น ยังเป็นส่วนที่ทำความสะอาดยาก โดยคนส่วนใหญ่มักแค่ใช้น้ำยาล้างโซ่ฉีดเข้าไปแล้วเช็ดทำความสะอาดแต่ในบางครั้งสิ่งสกปรกที่เกาะอยู่ก็ยังหลุดออกไม่หมด วันนี้เราจึงอยากมาแชร์วิธีทำความสะอาดโซ่รถจักรยานยนต์ที่ถูกต้องพร้อมวิธีการดูแล ให้โซ่จักรยานยนต์คุณสะอาดเหมือนใหม่ และที่สำคัญไม่เปลืองแรงและเวลาในการทำความสะอาด ติดตามทางด้านล่างนี้
ก่อนอื่นคุณควรเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นในการทำความสะอาดซึ่งมีดังนี้:
ผงซักฟอก
น้ำมันสน
น้ำส้มสายชู
กะละมัง
แปรงทำความสะอาด
หรือแปรงสีฟัน
แปลงทาสีขนาดกลาง
ถุงมือยาง
ผ้าสะอาด
เพียงทำตามขั้นตอนทางด้านบนเท่านี้เอง โซ่จักรยานยนต์ของคุณก็จะกลับมาสะอาดได้เหมือนใหม่อีกครั้งอย่างง่ายดาย
อย่างไรก็ดี การทำความสะอาดโซ่จักยานยนต์อาจทำให้เสื้อผ้าเลอะคราบสนิมจากโซ่ได้ และการขจัดคราบสนิมบนเสื้อผ้าอาจไม่ง่ายเหมือนกับการขจัดคราบทั่วไป แต่หมดห่วงได้เพราะเรามีวิธีขจัดคราบสนิมบนเสื้อผ้ามาให้คุณที่นี่
การดูแลโซ่จักรยานยนต์นั้นไม่ยาก เพียงหมั่นใช้น้ำมันสำหรับหล่อลื่นหยดลงบนโซ่เป็นประจำเพื่อลดการสึกหรอและทำให้เกิดเสียงหรือเกิดสนิมได้ น้ำมันหล่อลื่นจะช่วยให้โซ่หมุนได้คล่องด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ คุณควรทำความสะอาดโซ่บ้างเป็นบางครั้งเพื่อกำจัดสิ่งปกรกที่เกาะตามโซ่ให้หลุดออกและทำให้โซ่มีการไหลลื่นที่ดีขึ้น ที่สำคัญคุณควรปรับโซ่ให้อยู่ในระยะพอดีไม่ควรตึงหรือหย่อนจนเกินไป เพราะหากโซ่ตึงเกินอาจทำให้โซ่เกิดการสึกหรอเร็ว และโซ่ที่หย่อนเกินไปจะทำให้โซ่ไปกระแทกส่วนอื่นของรถทำให้รถเสียหายและโซ่อาจหลุดออกซึ่งเป็นสิ่งที่ควรระวังเป็นอย่างยิ่งเพราะอาจก่อให้ เกิดอุบัติเหตุได้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก greatbiker