กระแสการท่องเที่ยวจากการขับรถจักรยานยนต์กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจึงทำให้หลายคนหันมาขับรถจักรยานยนต์เป็นจำนวนมากซึ่งแน่นอนการมีคนขับรถจักรยานยนต์มากขึ้นก็มักจะมีข่าวการสูญเสียให้เห็นเป็นประจำซึ่งสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ที่ขับรถจักรยานยนต์นั่นมักเกิดจากการขับรถด้วยความเร็ว เมาแล้วขับ หรือ ไม่ได้สวมใส่หมวกกันน็อคนั่นเองซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องที่สำคัญและควรต้องเอาจริงเอาจังเพราะการสูญเสียมีแนวโน้มมากขึ้นทุกวันซึ่งเราเองก็ไม่อยากให้การสูญเสียไปมากกว่านี้และหนึ่งในการป้องกันการสูญเสียที่ดีนั่นก็คือการสวมใส่หมวกกันน็อคนั่นเองซึ่งเรามาดูกันว่าการใส่หมวกกันน็อคนั่นมีประโยชน์และข้อดีที่น่าสนใจอย่างไรบ้างซึ่งเรานำมาเสนอในหัวข้อ ข้อดี 4 อย่างในการใส่หมวกกันน็อคขับรถจักรยานยนต์ ซึ่งมีข้อดีน่าสนใจดังต่อไปนี้
ข้อดี 4 อย่างในการใส่หมวกกันน็อคขับรถจักรยานยนต์
มีความปลอดภัยจากอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น
การอุบัติเหตุนั่นเราไม่สามารถกำหนดได้ว่าจะเกิดเวลาไหนและกลับใครซึ่งต่อให้เรามีความระวังตัวแค่ไหนก็ตามก็อาจจะมีสาเหตุอื่นๆหรือจากรถคันอื่นได้ซึ่งวิธีที่น่าจะดีที่สุดคือการเตรียมตัวให้พร้อมทั้งรถจักรยานยนต์และต้องสวมหมวกกันน็อคทุกครั้งซึ่งช่วยลดความสูญเสียได้เป็นอย่างดี
ป้องกันจากการจับกุมจากเจ้าหน้าที่
เนื่องจากประเทศไทยมีการสูญเสียจากอุบัติเหตุโดยเฉพาะรถจักรยานยนต์ซึ่งสาเหตุการเสียชีวิตมาจากการไม่สวมใส่หมวกกันน็อคจึงทำให้ต้องออกกฎหมายเพื่อบังคับใช้อย่างเข้มงวดซึ่งถ้าเราเดินทางโดยการขับรถจักรยานยนต์แล้วการสวมใส่หมวกกันน็อคย่อมสามารถป้องกันการจับกุมจากเจ้าหน้าที่ได้นั่นเอง
ทำให้ขับสนุกไม่ปะทะกับลมมากเกินไป
การสวมใส่หมวกกันน็อคเมื่อเวลาเดินทางไกลนั่นสามารถช่วยลดการปะทะกับลมและสามารถลดแรงแรงเสียดทานจากการเดินทางได้เป็นอย่างดีจึงทำให้สามารถขับรถจักรยานยนต์เที่ยวได้อย่างสนุกสนานอีกต่างหาก
ใส่หมวกกันน็อคแล้วดูเท่เวลาขับรถ
ในการขับรถจักรยานยนต์เที่ยวเมื่อเราสวมใส่เครื่องป้องกันครบชุดและที่ขาดไม่ได้คือการสวมใส่หมวกกันน็อคใบเก่งแล้วด้วยเป็นอะไรที่ดูดีและดูเท่เป็นอย่างยิ่งและที่สำคัญมีปลอดภัยสูงสามารถลดการบาดเจ็บและการสูญเสียของผู้ขับขี่ได้ด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก thaidress-kanokpon
การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เมื่อเกิดอุบัติเหตุขณะขับขี่รถจักรยานยนต์
ในชีวิตประจำวันการขับขี่รถจักรยานยนต์อาจมีหลายปัจจัยที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ บางเหตุการณ์นั้น แก้ไขปัญหาได้อย่างไร
ถนนที่มีน้ำมัน – ใช้เกียร์ต่ำเร่งเครื่องให้อยู่ในระดับหนึ่งตลอดเวลา เมื่อพ้นถนนที่มีน้ำขังแล้ว ให้ใช้เบรกเป็นระยะๆ เพื่อไล่น้ำออกจากระบบเบรกจนเบรกอยู่ในสภาพปกติ ในกรณีที่เครื่องยนต์ดับ ต้องจูงรถไปให้พ้นน้ำ ถอดหัวเทียนออกมา เช็ดทําความสะอาดให้แห้ง รวมทั้งตรวจสอบและทําให้ระบบไฟจุดระเบิดปราศจากความชื้น และนําอุปกรณ์ต่าง ๆ ประกอบเข้าที่อย่างถูกต้องแล้ว จึงติดเครื่องยนต์ใช้งานต่อไป
ถ้าขับขี่บนถนนมีน้ำขัง – ควรขับด้วยเกียร์ต่ำ เร่งเครื่องให้อยู่ในระดับใดระดับหนึ่งตลอดเวลา และใช้เบรกเป็นระยะ ถ้าเครื่องดับต้องจูงรถให้พ้นน้ำและถอดหัวเทียนออกมาเช็ดทําความสะอาดให้แห้ง รวมทั้งตรวจสอบระบบไฟจุดระเบิดให้ปราศจากความชื้นด้วย หลังจากนั้นประกอบเข้าที่แล้วสตาร์ตเครื่องใช้งานต่อไป
ถ้าเบรกไม่ทํางาน – ขั้นแรก ควรตั้งสติ ให้ดีเสียก่อน แล้วค่อยๆ ลดเกียร์ต่ำสุดเพื่อให้เครื่องยนต์ช่วยเบรก เมื่อสามารถหยุดได้แล้ว ควรเร่งแก้ไขข้อผิดพลาด และขณะที่เกิดเหตุควรบีบแตรไว้ตลอดเวลา เพื่อเตือนให้รถคันอื่นทราบว่าท่านกําลังประสบปัญหา
ถ้าคันเร่งค้าง – ปิดกุญแจสวิตซ์หรือดึงสายไฟ เพื่อตัดระบบจุดระเบิดเครื่องยนต์
ถ้าเครื่องร้อนเกินไป – เมื่อเครื่องยนต์เกิดความร้อนสูง ลูกสูบอาจเกิดอาการฝืด และเกิดเสียงเหมือนใช้เครื่องยนต์ช่วยเบรก (ขณะแล่นอยู่โดยไม่เร่งเครื่อง) เมื่อเกิดอาการเช่นนี้ควรเข้าเกียร์ว่างทันที เพื่อป้องกันปัญหาเครื่องหยุดทํางาน และแตะเบรกเบาๆ ถ้ารถของท่านระบายความร้อนด้วยน้ำ อย่ารีบร้อนเปิดฝาหม้อน้ำเพราะอาจถูกน้ำร้อนลวกได้ ควรรอให้เครื่องยนต์เย็นพอสมควรจึงค่อยตรวจดูน้ำมันเครื่อง และน้ำหล่อเย็น
ถ้าเกิดยางระเบิด – ควรตั้งสติควบคุมรถให้ดี ใช้เข่าทั้งสองข้างบีบถังน้ำมัน ปล่อยให้รถช้าลงด้วยตัวของมันเองแล้วจึงใช้ห้ามล้อ และนํารถเข้าจอดในที่ปลอดภัย
ถนนมีหลุมลึก – หากกจำเป็นต้องขับขี่ผ่านหลุมลึกหรือผิวถนนที่ขรุขระมากๆ ควรยืมขึ้นในลักษณะย่อเข่าเล็กน้อย พร้อมทั้งโยกตัวไปในทิศทางตรงกันข้ามกับระดับตัวรถที่เอียงเมื่อขับผ่านหลุมหรือเนินต่างๆ จะช่วยให้ควบคุมรถได้ดีกว่าการนั่ง
เบรกแล้วล้อล็อก – ในกรณีเบรกแล้วล้อล็อก สำหรับรถที่ไม่มีระบบ ABS ส่วนมากมักเกิดที่ล้อหลัง ดังนั้น เมื่อเกิดการล็อกและลื่นไถลของล้อควรใช้น้ำหนักของเบรกหน้าเพิ่มขึ้นหรือควรผ่อนเบรกหลังและเพิ่มแรงสลับกันถี่ๆ เพื่อให้ล้อหมุนกลิ้งกับพื้นถนนให้มากที่สุด และหากเกิดกับล้อหน้าให้ใช้วิธีเดียวกัน เพื่อให้สามารถควบคุมทิศทางของรถและลดความเร็วลงได้อย่างปลอดภัย
รู้วิธีการขับขี่อย่างปลอดภัยควบคู่กันไป จะช่วยลดอุบัติเหตุ พร้อมทั้งเพิ่มวินัยจราจร และที่สำคัญอาจทำให้ปัญหารถติดลดน้อยลงอีกด้วยนะคับ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก checkraka
มอเตอร์ไซค์ 2 จังหวะและ 4 จังหวะ ต่างกันอย่างไร
ทราบกันเป็นอย่างดีว่าในปัจจุบันรถจักรยานยนต์นั้นส่วนใหญ่แล้วจะใช้เป็นระบบเครื่องยนต์ 4 จังหวะแทบทิ้งสิ้น แต่ก็ยังคงสงสัยอยู่ดีว่า ระหว่างเครื่องยนต์แบบ 2 จังหวะ กับ 4 จังหวะ นั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร แล้วจะดูได้จากตรงไหน ซึ่งก็มีเกร็ดความรู้ในเรื่องนี้มาฝาก กับวิธีการดูความแตกต่างระหว่าง 2 เครื่องยนต์นี้แบบง่ายๆ ส่วนจะเป็นอย่างไรนั้น
Honda Wave มาพร้อมกับเครื่องยนต์ 4 จังหวะ
ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า ทั้งเครื่องยนต์ 2 จังหวะ และ 4 จังหวะนั้นต่างก็มีระบบการทำงานหรือวัญจักรการสันดาปภายในที่เหมือนกัน นั่นก็คือการดูดอากาศ และ อัดอากาศ จนถึง ระเบิด (จุดระเบิดด้วยหัวเทียน) และคายไอเสียจากการเผาไหม้ออกมา
สังเกตได้อย่างไรนั้น สำหรับวิธีการตรวจสอบภายนอกด้วยตาเปล่าง่ายๆ เลยก็คือ การตรวจสอบลักษณะภายนอกของเครื่องยนต์ระหว่าง 2 จังหวะกับ 4 จังหวะ จะมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน นั่นก็คือ
ความแตกต่างระหว่างเครื่องยนต์ 2 รูปแบบ
1.ตัวเสื้อสูบ โดยเสื้อสูบของเครื่องยนต์ 4 จังหวะจะมีขนาดใหญ่กว่า 2 จังหวะ ทั้งๆ ที่มีปริมาตรความจุเท่ากัน เพราะภายในของเสื้อสูบเครื่องยนต์แบบ 4 จังหวะนั้น มีส่วนประกอบต่างๆ ที่มากกว่า เช่น ระบบกลไกของวาล์วไอดี วาล์วไอเสีย ก้านกระทุ้ง และแคมชาฟต์ (โซ่ขับเพลาลูกเบี้ยว) โดยเครื่องยนต์ในลักษณะของ 2 จังหวะจะไม่มีระบบกลไกของวาล์ว มีเพียงแค่ท่อสำหรับคายไอเสียทิ้งออกมาเท่านั้น รวมไปถึงท่อดูดอากาศก็ไม่ได้อยู่บริเวณส่วนของเสื้อสูบ แต่จะอยู่บริเวณด้านล่างแทน
ความแตกต่างระหว่างเครื่องยนต์ 2 รูปแบบ
2.ดูบริเวณท่อดูดอากาศจากคาร์บูเรเตอร์เข้าบริเวณเสื้อสูบที่ตรงกันข้ามกับทางออกของท่อไอเสีย หากเป็นเครื่องแบบ 2 จังหวะนั้น มันจะไม่อยู่ในระดับเดียวกัน แต่เครื่องยนต์แบบ 4 จังหวะนั้นจะอยู่ระดับเดียวกันเสมอ
ความแตกต่างระหว่างเครื่องยนต์ 2 รูปแบบ
3.ฟังเสียง โดยเครื่องยนต์แบบ 4 จังหวะนั้นหลายๆ คนคงจะทราบกันดีอยู่แล้ว ว่าเสียงของมันจะออกทุ้มๆ นุ่มๆ กว่า โทนเสียงต่ำและใหญ่ ซึ่งเมื่อเร่งรอบสูงๆ เสียงของมันจะดังแบบทุ้มๆ และส่วนเครื่องยนต์ 2 จังหวะนั้นเสียงจะออกแหลมๆ (เสียงแว๊น) และสังเกตได้จากตอนขณะจอดติดเครื่องยนต์ รอบของมันจะเดินไม่เรียบนั่นเอง
เครื่องยนต์ 2 จังหวะส่วนใหญ่จะมีควันออกจากท่อไอเสีย
4.ท่อไอเสีย (ควัน) แน่นอนว่ารถจักรยานยนต์ที่มาพร้อมกับเครื่องยนต์ในรูปแบบ 2 จังหวะนั้นจะมีควันตามมาเป็นปกติ ซึ่งมันก็จะต้องอาศัยน้ำมันเครื่องชนิดพิเศษ หรือที่เรารู้จักกันว่า ออโต้ลูป เพื่อให้มันเข้าไปช่วยหล่อลื่นชิ้นส่วนบริเวณภายในห้องเครื่อง พ้รอมกับการถูกเผาไหม้ปนออกมากับไอเสียนั่นเอง
และที่เครื่อง 4 จังหวะไม่มีควันนั้นก็เพราะเนื่องจากเครื่องยนต์แบบ 4 จังหวะนั้นมักมีระบบการเผาไหม้ที่สมบูรณ์มากกว่า และแทบจะไม่มีควันออกมาจากท่อไอเสียเลย
สังเกตจากตำแหน่งหัวเทียน
5.ตำแหน่งติดตั้งหัวเทียน สำหรับเครื่องยนต์ 4 จังหวะนั้น จำเป็นจะต้องติดตั้งหัวเทียนไว้ด้านปลายของฝาสูบ เพื่อหลบระบบควบคุมวาล์วที่อยู่บริเวณส่วนบนของฝาสูบ และเครื่องยนต์ 2 จังหวะสามารถติดตั้งส่วนบนสุดของฝาสูบได้เลย เพราะไม่มีระบบควบคุมวาล์วนั่นเอง
รถจักรยานยนต์ 2 จังหวะส่วนใหญ่จะต้องสตาร์ทกับเท้าเท่านั้น
6.ระบบติดเครื่องยนต์ (สตาร์ท) เครื่องยนต์ 4 จังหวะส่วนใหญ่จะสามารถใช้ได้ทั้งแบบ สตาร์ทด้วยเท้า และสตาร์ทไฟฟ้า ส่วนเครื่อง 2 จังหวะนั้นส่วนใหญ่แล้วจะใช้การสตาร์ทด้วยเท้า ยกเว้นในรุ่นที่มีเครื่องยนต์ขนาดใหญ่หรือจำนวนสูบมากกว่า 2 สูบขึ้นไป โดยอาจจะมีระบบมอเตอร์ช่วยสตาร์ท แต่ในปัจจุบันนี้ก็ได้มีการพัฒนามาเป็นแบบสตาร์ทไฟฟ้า (สตาร์ทมือ) แทบทั้งหมด
ส่วนข้อดีและข้อเสียโดยทั่วไปของเครื่องยนต์ทั้ง 2 และ 4 จังหวะ
แบบ 2 จังหวะ
ข้อดี ออกตัวได้รวดเร็ว อัตราเร่งดี ลากรอบเครื่องยนต์ได้สูง ชิ้นส่วนเคลื่อนไหวน้อย ดูแลรักษาง่าย ปรับแต่งไม่มากก็แรงได้
ข้อเสีย การสึกหรอสูง ควันขาวก่อมลพิษ เสียงดังมาก ไม่ทนทานเท่าแบบ 4 จังหวะ เครื่องเดินไม่เรียบ กินน้ำมันมากกว่า มีข้อจำกัดในการปรับแต่ง เมื่ออายุใช้งานนานๆ ชิ้นส่วนภายในเกิดคราบเขม่าจากการใช้ออโต้ลูป อาจเกิดความเสียหายได้
แบบ 4 จังหวะ
ข้อดี ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง (ปัจจุบันเริ่มนิยมใช้ระบบจ่ายเชื้อเพลิงด้วยหัวฉีดอิเล็กทรอนิกส์) รอบเครื่องเดินเรียบ เสียงเบา ดูแลรักษาง่ายเช่นกัน ปรับแต่งได้มากกว่า แรงบิดคงที่ ไม่มีควันขาว มลพิษต่ำ
ข้อเสีย ชิ้นส่วนมากย่อมมีค่าใช้จ่ายบำรุงรักษามากตามมาด้วย ลากรอบได้ไม่สูงเท่าเครื่อง 2 จังหวะ (แต่ในรถสมรรถนะสูงๆ ลากได้เกินหมื่นรอบ/นาทีขึ้นไป) เสียงจะดังมากขึ้นหากปรับแต่งท่อไอเสีย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก motorcycle.boxzaracing
เทคนิคสำหรับการขับขี่ออกทริปเป็นกลุ่ม
ความสุขของไบค์เกอร์ และเหล่าคนรักรถคือการได้ออกทริปไปชมบรรยากาศ ชีวิต และธรรมชาติอันงดงาม พร้อมๆ กับเพื่อน พี่น้องไบค์เกอร์ที่รักการขับขี่เช่นเดียวกับเรา จะดีกว่าไหมถ้าเรารู้เทคนิคดีๆ ที่ช่วยให้การออกทริปเป็นกลุ่มง่ายขึ้น มีความปลอดภัย และมีความสนุกสนานตลอดการเดินทาง
1. เช็คทุกครั้ง
ก่อนจะเคลื่อนขบวน ควรจะเช็คความพร้อมของผู้ร่วมขบวนก่อน เมื่อทุกคนพร้อมแล้วจึงค่อยออกตัว ถ้ามีคนในขบวนที่ยังไม่พร้อมให้รีบแจ้งเตือนมาแชลหรือผู้นำขบวนให้ทราบ หากออกตัวไม่รอกันแล้วขบวนขาดสุดท้ายก็ต้องมาตามหาและรอกันอยู่ดี หากมีสมาชิกลืมรัดสายรัดคางหมวกกันน็อค ควรให้สัญญานและรอให้เขาแต่งตัวให้เรียบร้อยแล้วค่อยเดินทางต่อ ที่สำคัญคือ ห้ามปล่อยให้คนไม่รู้ทางหรือขี่ยังไม่แข็งถูกทิ้งไว้ข้างหลังเป็นอันขาด และอย่าลืมว่าก่อนจะออกตัวให้หันมองไปทางด้านหลัง (ฝั่งขวา) เพื่อเช็คว่ามีรถจากข้างหลังวิ่งมาหรือไม่เสมอ
2. เว้นระยะห่างจากคันข้างหน้า
การเดินทางไกล ต้องถือเอาความปลอดภัยเป็นที่ตั้ง การเว้นระยะห่างจากคันหน้าแต่พอดี ประมาณช่วง 1-2 คันรถยนต์ ไม่ควรห่างไปมากกว่านี้เพราะจะทำให้ขบวนขาดได้ การเว้นระยะทำให้ผู้ขับขี่สามารถกะระยะเบรคได้แม่นยำมากขึ้น ป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นได้ในกรณีที่คันหน้าเบรคกระทันหัน และยังทำให้ไม่เป็นการกดดันตัวเองและคนข้างหน้า เมื่ออยู่ใกล้คันหน้า-คันหลังมากเกินไปอีกด้วย
3. อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน
ไม่ว่าด้วยความมั่นใจหรือความเคยชินในเส้นทางที่คุณจะไป ‘อย่าได้ชะล่าใจ’ เพราะปัจจัยและสภาพแวดล้อมของเส้นทางมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แม้ว่าคุณมั่นใจว่าโค้งข้างหน้าต้องแต่งตัวก่อนเข้าโค้งอย่างไร ใช้ความเร็วเท่าไหร่ แต่คุณจะไม่สามารถคาดเดาได้เลยว่าจะมีรถสวนมาหรือไม่ บานโค้งเข้ามาในเลนเราหรือเปล่า หรือแม้แต่เพื่อนร่วมขบวนที่คุณไม่มีทางรู้เลยว่าเขาขับขี่เป็นอย่างไร ดังนั้น ‘คิดเผื่อ’ ไว้ก่อนดีที่สุด
4. รู้เขารู้เรา
หากเป็นไปได้ก่อนที่จะออกทริปควรทำความรู้จักลักษณะการขับขี่ของเพื่อนร่วมทริป เพราะการขับขี่ทางไกลเราต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ถ้ารู้ว่าสมาชิกขี่อย่างไร เราจะสามารถปรับจูนการขับขี่ให้เข้ากันได้ และปลอดภัยยิ่งขึ้นหาก เป็นไปได้ควรขับขี่ทริปสั้นๆ ด้วยกันอย่างน้อยซัก 1 ครั้ง ความเข้าใจและไว้วางใจซึ่งกันและกันจะทำให้การขับขี่เป็นกลุ่มมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
5. สื่อสาร สื่อสาร และสื่อสาร
ก่อนอื่นควรทำความเข้าใจเรื่องสัญญาณมือมาตรฐานที่ใช้กันทั่วไป ควรสรุปสัญญาณ ทั้งสัญญาณมือและเสียงที่จะใช้ในทริปเช่นกดแตร 1 ครั้งเมื่อเจอทางชั้น กับสมาชิกที่ร่วมเดินทางก่อนออกเดินทางเสมอ อย่าลืมว่าเราเดินทางเป็นกลุ่มต้องขี่ร่วมกันไปตลอดเส้นทางของทริปนั้น
6. มีวินัย
ความมีวินัยหมายถึงการยึดถือกฎกติกา แผนการเดินทาง และมารยาท ที่ตกลงกันอย่างเคร่งครัดไม่ว่าจะเป็นการให้สัญญาณที่พึงปฏิบัติ การตรงต่อเวลาตามแผนที่สรุปไว้ เพื่อรักษาบรรยากาศการขับขี่ และความปลอดภัยของสมาชิกในกลุ่ม ความมีวินัยจึงเป็นหัวใจสำคัญของการขับขี่ออกทริป หากมีสมาชิกท่านใดที่ละเลย ควรมีการตักเตือนเพื่อรักษาไว้ซึ่งส่วนรวม
ขอบคุณข้อมูลจาก shiftupmagazine.com
16 สัญญาณมือของนักขับขี่มอเตอร์ไซค์
สัญญาณเหล่านี้เรามักจะพบเห็นในกลุ่มคนขับรถมอเตอร์ไซค์ หรือกลุ่มไบค์เกอร์ที่ออกทริปกันเป็นกลุ่มๆ เพื่อช่วยในการสื่อสารในขณะขับรถบนท้องถนน และเพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน และที่สำคัญยังใช้เป็นสัญญาณมือกรณีฉุกเฉินเมื่อรถมอเตอร์ไซค์ของเราไฟเลี้ยว หรือไฟเบรคเสียเพื่อให้คนที่ขับรถตามมาด้านหลังได้ระวังอีกด้วย
3 เหตุผลที่จะเปลี่ยนมุมมองการออกทริปของคุณ
1. การขี่มอเตอร์ไซค์ทำให้สุขภาพของคุณดีขึ้น
เชื่อหรือไม่ ผู้ชายหนัก 82 กก. สามารถเผาผลาญแคลอรี่ได้มากถึง 40 cal.ต่อชั่วโมง และถ้าเขาร้องเพลงไปด้วยขณะที่ขี่มอเตอร์ไซค์ไปด้วย จะเผาผลาญแคลอรี่มากขึ้นอีก 100 cal. เลยทีเดียว การขี่มอเตอร์ไซค์ยังส่งผลให้สุขภาพจิตของคุณดีขึ้นด้วยสารเอนโดฟินที่หลั่งออกมาขณะที่คุณมีความสุขกับการขับขี่ เชื่อไหมว่าอดีตไบเกอร์ที่เผชิญกับสภาวะสุขภาพทางจิตไม่สู้ดีนัก ตัดสินใจกลับมาขี่มอเตอร์ไซค์อีกครั้ง ทำให้ทุกอย่างดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็น ความใจเย็น ความมั่นใจในตัวเอง จิตใจอารี และมีความสุขที่มีแต่จะเพิ่มขึ้นทุกครั้งที่ได้ขี่มอเตอร์ไซค์ และสุขภาพจิตที่ดีขึ้นย่อมทำให้สุขภาพกายดีขึ้นอีกด้วย
2.ค้นพบวิถีแห่งเซน (Zen)
ส่วนหนึ่งของการเป็นไบค์เกอร์ที่เจ๋งสุดๆ คือเมื่อคุณหยุดกังวลและเขินอายต่อสิ่งรอบข้างเช่น หมวกกันน๊อค ทรงผม คุณจะไม่รู้สึกแย่ไม่ว่าจะอยู่ในสภาพอากาศที่ร้อน หนาว ฝนตก หรือลมแรง การใช้สมาธิเพื่อประเมินสถานกาณ์ขณะที่คุณกำลังขับขี่ ความเร็ว องศาการเข้าโค้ง ท่าขี่ สภาพถนน ตำแหน่งเลนถนน ฯลฯ จะทำให้คุณอยู่ในสภาวะเช่นเดียวกับการนั่งสมาธิ ขจัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกจากความคิดของคุณ การขับขี่มอเตอร์ไซค์จึงทำให้คุณค้นพบกับความสงบสุขอย่างแท้จริง ซึ่งจะติดตามตัวคุณแม้ว่าจะลงจากรถไปแล้วก็ตาม
3.มิตรภาพ
สำหรับการขี่มอเตอร์ไซค์นั้น มิตรภาพเกิดขึ้นได้ทุกการเดินทาง ไม่ว่าคุณจะขี่รถรุ่นอะไร กี่ cc. กี่แรงม้า ไปที่ไหน สิ่งที่คุณจะได้พบคือการทักทายจากเพื่อนไบค์เกอร์ นอกจากนี้เราอาจจะได้เพื่อนร่วมเดินทางใหม่ ได้เริ่มต้น และหล่อหลอมมิตรภาพขึ้นมาใหม่ไปพร้อมๆ กัน
การเดินทางด้วยมอเตอร์ไซค์หมายถึงการที่ผู้คนพร้อมที่จะเข้ามาพูดคุยกับคุณ แชร์เรื่องราวของพวกเขา และที่สำคัญถ้าคุณลองเปิดใจซักครั้ง จะพบว่าคุณจะไม่มีโอกาสได้พูดคุยกับผู้คนเหล่านั้นในชีวิตประจำวันแน่นอนถ้าไม่ใช่เพราะคุณขี่มอเตอร์ไซค์
นอกจากเหตุผลสามข้อนี้แล้วยังมีเหตุผลอีกมากมายที่เราไม่ได้กล่าวถึง
แต่จะดีกว่าไหมถ้าคุณค้นพบเหตุผลนั้นด้วยตัวคุณเอง
ขอบคุณข้อมูลจาก shiftupmagacomzine.